ปลาแขยง ปลาตัวเล็ก เนื้ออร่อย ชนิด และแหล่งที่พบ

Last Updated on 21 พฤศจิกายน 2022 by siamroommate

ปลาแขยง เป็นปลาที่คนไทยนิยมรับประทาน เนื่องจากเป็นปลาเนื้ออ่อน มีเนื้อหวานมัน พบได้ในทุกภาคของไทย ปัจจุบันในประเทศไทยพบได้กว่า 25 ชนิด ชนิดที่พบได้มาก ได้แก่ ปลาแขยงนวล ปลาแขยงใบข้าว และปลาแขยงข้างลาย เป็นต้น

แหล่งกำเนิด และการแพร่กระจาย
ปลาแขยงจัดอยู่ในอันดับ Order Silurifromes ในวงศ์ Family Bagridae วงศ์เดียวกับปลากด โดยพบได้ทั้งในทวีปแอฟริกา และเอเชีย จากญี่ปุ่นจนถึงหมู่เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งปลาในวงศ์นี้มีกว่า 30 สกุล 210 ชนิด

ชนิดปลาแขยง
ปลาแขยงที่พบในไทยมีกว่า 25 ชนิด จึงขอยกตัวในบางชนิดที่พบบ่อย ได้แก่
1. ปลาแขยงแถบขาว (Mystus albolineatus)
– จำนวนโครโมโซมแบบดิพลอยด์ 2n=56
– โครโมโซมแบบเมตาเซนตริก 14 คู่
– โครโมโซมแบบสับเมตาเซนตริก 3 คู่
– โครโมโซมแบบสับทีโลเซนตริก 6 คู่
– โครโมโซมแบบอะโครเซนตริก 5 คู่
– จำนวนแขนโครโมโซมเท่ากับ 90

2. ปลาแขยงนวล (Mystus wolffii)
– จำนวนโครโมโซมแบบดิพลอยด์ 2n=58
– โครโมโซมแบบเมตาเซนตริก 13 คู่
– โครโมโซมแบบสับเมตาเซนตริก 5 คู่
– โครโมโซมแบบสับทีโลเซนตริก 3 คู่
– โครโมโซมแบบอะโครเซนตริก 8 คู่
– จำนวนแขนโครโมโซมเท่ากับ 94

ปลาแขยงนวล

3. ปลาแขยงธง (Heterobagrus bocourti)
– จำนวนโครโมโซมแบบดิพลอยด์ 2n=56
– โครโมโซมแบบเมตาเซนตริก 12 คู่
– โครโมโซมแบบสับเมตาเซนตริก 9 คู่
– โครโมโซมแบบสับทีโลเซนตริก 3 คู่
– โครโมโซมแบบอะโครเซนตริก 4 คู่
– จำนวนแขนโครโมโซมเท่ากับ 98

ปลาแขยงธง

4. ปลาแขยงข้างลาย (Mystus Mysticetus Robert)
มีโครโมโซม 2n=54
โครโมโซมแบบเมทาเซนทริก 15 คู่
โครโมโซมแบบซับเมทาเซนทริก 4 คู่
โครโมโซมแบบอะโครเซนทริก 8 คู่
จำนวนแขนโครโมโซมเท่ากับ 92

ปลาแขยงข้างลาย

5. ปลาแขยงเขา (Batasio havmolleri)
มีโครโมโซม 2n=80
โครโมโซมแบบเมทาเซนทริก 16 คู่
โครโมโซมแบบซับเมทาเซนทริก 7 คู่
โครโมโซมแบบซับเทโลเซนทริก 1 คู่
โครโมโซมแบบอะโครเซนทริก 16 คู่
จำนวนแขนโครโมโซมเท่ากับ 126

6. ปลาแขยงแถบขาว

7. ปลาแขยงใบข้าว

ปลาแขยงใบข้าว

8. ปลาแขยงหิน

ปลาแขยงหิน

ตัวอย่างลักษณะทั่วไป ปลาแขยงข้างลาย
ปลาแขยงข้างลาย เป็นปลาไม่มีเกล็ด ลำตัวเป็นหนังเรียบปกคลุม โดยข้างลำตัวมีแถบสีดำ 3 แถบ พาดยาวตามแนวยาวของลำตัว โดยแถบแรกจะอยู่ด้านบนติดกับสันลำตัว จุดเริ่มต้นของแถบเริ่มจากโคนหัว ผ่านครีบหลังไปสิ้นสุดโคนครีบหาง ส่วนแถบที่ 2 อยู่บริเวณเส้นข้างลำตัว และสิ้นสุดที่โคนหาง ส่วนแถบที่ 3 อยู่เหนือส่วนท้อง เริ่มที่บริเวณครีบอก ละสิ้นสุดที่โคนครีบหางเช่นกัน

หัวมีขนาดเล็ก ปากเล็ก ตาโต หนวดบริเวณจมูกมีสีดำ หนวดบริเวณขากรรไกรบนมีสีเทา ยกเว้นบริเวณโคนหนวดมีสีดำ ส่วนหนวดบริเวณขาไกรกรรล่างมีสีขาวอมเทา

ครีบหลัง และครีบอกมีลักษณะเป็นหนามแข็ง ปลายครีบแหลมคม ส่วนหางมีลักษณะเว้าเป็นแฉกลึก

แหล่งอาศัย และการหาอาหาร
ปลาแขยงมักอาศัยรวมกันเป็นกลุ่ม พบได้มากในแม่น้ำสายต่างๆ มักหลบอาศัยบริเวณโขดหิน บริเวณที่มีตอไม้ ซุ้มไม้ใต้น้ำ ส่วนอาหารปลาแขยงจะเป็นกุ้ง ปู ปลา ขนาดเล็ก หรือ ซากสัตว์

เมนูปลาแขยง
ปลาแขยง ถึงแม้จะตัวเล็ก แต่เป็นปลาเนื้ออ่อนที่ให้รสหวาน มัน อีกทั้ง ในธรรมชาติมีจำนวนมาก สามารถหาได้ง่ายในลำน้ำทุกที่ จึงเป็นที่นิยมนำมาประกอบอาหารในเมนูต่างๆ อาทิ
– ปลาแขยงทอดกระเทียม

ปลาแขยงทอดกระเทียม

– หมกหม้อปลาแขยง

หมกหม้อปลาแขยง

– หมกปลาแขยง
– ปลาแขยงผัดพริกแกง
– ผัดเผ็ดปลาแขยง

ผัดเผ็ดปลาแขยง

– แกงป่าปลาแขยง

แกงป่าปลาแขยง

– ฉู่ฉี่ปลาแขยง

ฉู่ฉี่ปลาแขยง

– ฯลฯ