ตำแหน่ง ระยะทาง และการกระจัด ความหมาย ตัวอย่าง และวิธีการคำนวณ

Last Updated on 24 พฤศจิกายน 2022 by siamroommate

ตำแหน่ง (Position) ระยะทาง (Distance) และการกระจัด (Displacement) เป็นหัวข้อเล่าเรียนในรายวิชาฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษาภายใต้หัวข้อปริมาณต่างๆของการเคลื่อนที่ ซึ่งทั้ง 3 หัวข้อ ถือว่ามีความสัมพันธ์กัน โดยตำแหน่งจะใช้เป็นจุดอ้างอิงการเคลื่อนที่ ระยะทางจะใช้บ่งบอกความยาวของการเคลื่อนที่โดยไม่สนใจเรื่องทิศทางการเคลื่อนที่ และการกระจัดจะใช้บ่งบอกความยาวของการเคลื่อนที่โดยให้ความสนใจเฉพาะทิศทางการเคลื่อนที่แบบเป็นเส้นตรง

ตำแหน่ง (Position)
ตำแหน่ง (Position) หมายถึง จุดอ้างอิง ณ จุดใดจุดหนึ่ง เพื่อใช้เทียบระยะทางหรือความยาวจากจุดนั้นๆไปยังอีกจุดหนึ่งที่ห่างออกไป

การบอกตำแหน่งที่ชัดเจนหรือแน่ชัดจะใช้วิธีการเทียบตำแหน่ง ณ จุดใดจุดหนึ่งกับอีกจุดหนึ่งที่ห่างออกไป โดยตำแหน่งแรกถือว่า เป็นจุดเริ่มต้น และอีกตำแหน่งหนึ่งที่ห่างออกไปถือว่าเป็นจุดสุดท้าย เช่น มีผู้ชายชุดดำยืนอยู่ห่างจากเสาหลอดไฟในระยะทาง 10 เมตร ทั้งนี้ ตำแหน่งสำหรับการเทียบเพื่อให้ทราบระยะทางหรือความยาวอาจมีเท่ากับหรือมากกว่า 2 ตำแหน่ง

ระยะทาง (Distance)
ระยะทาง (Distance) หมายถึง ความยาวที่วัดได้จากจุดเริ่มต้นไปตามทิศทางการเคลื่อนที่ทั้งการเคลื่อนที่แบบเส้นตรง และการเคลื่อนที่แบบไม่เป็นเส้นตรง

ระยะทางเป็นหน่วยของความยาวที่วัดได้ ณ จุดอ้างอิงจุดใดจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ตามตัวอย่างที่กล่าวข้างต้น ผู้ชายชุดดำยืนอยู่ห่างจากเสาหลอดไฟในระยะทาง 10 เมตรนั้น ระยะทางในที่นี้ก็คือ 10 เมตร นั่นเอง

อีกตัวอย่างจากภาพด้านล่างสามารถแบ่งระยะทางออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1. ระยะทางจากการเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรง กล่าวคือ
การเดินทางโดยรถยนต์ตามเส้นสีน้ำเงินจากจุด A ณ ศูนย์ไปรษณีย์ลำพูนไปยังจุด B ณ อำเภอสันปาตอง แล้วเดินทางต่อไปจนถึงยังจุด C ณ อำเภอแม่วาง รวมระยะทางทั้งสิ้น 97.3 กิโลเมตร ดังนั้น ระยะทางรูปแบบนี้ ถือเป็นปริมาณสเกลาร์ (Scalar quantity) ซึ่งจะพิจารณาหรือให้ความสำคัญเฉพาะขนาดของยะยะทาง ซึ่งจะไม่สนใจในเรื่องของทิศทางการเคลื่อนที่

2. ระยะทางจากการเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง กล่าวคือ
การเดินทางโดยเครื่องบินตามเส้นสีเหลืองจากจุด A ณ ศูนย์ไปรษณีย์ลำพูนไปยังจุด B ณ อำเภอสันปาตอง เป็นระยะทาง 20 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อตามเส้นสีส้มไปจนถึงยังจุด C ณ อำเภอแม่วาง เป็นระยะทาง 40 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น 60 กิโลเมตร ดังนั้น ระยะทางรูปแบบนี้ ถือเป็นปริมาณเวกเตอร์ (Vector quantity) ซึ่งจะพิจารณาหรือให้ความสำคัญทั้งขนาดของยะยะทาง และทิศทางการเคลื่อนที่ที่เป็นแนวเส้นตรง หรือ หมายความเดียวกันกับคำว่า การกระจัดนั่นเอง

การกระจัด (Displacement)
การกระจัด (Displacement) หมายถึง ความยาวที่วัดได้จากจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสุดท้ายตามทิศทางการเคลื่อนที่แบบเส้นตรง

การกระจัดนั้น อาจวัดได้หรือบ่งบอกได้ด้วยการเคลื่อนที่จริงภายใต้การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง เช่น การเดินทางจากจุด A ไปยังจุด B และ C ด้วยเครื่องบินตามที่กล่าวข้างต้น หรือ เป็นการคำนวณระยะทางโดยใช้ตำแหน่งในแผนที่ประกอบ แล้วลากเส้นเป็นแนวเส้นตรงก็สามารถกระทำได้เช่นกัน ดังนั้น การกระจัดจึงเป็นการวัดความยาวที่คำนึงถึงทิศทางการเคลื่อนที่เฉพาะแบบเส้นตรงเท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ระยะทางจากการเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง