สัทธรรม 3 ประการ ความหมาย และองค์ประกอบ

Last Updated on 24 พฤศจิกายน 2022 by siamroommate

สัทธรรม 3 ประการ มีความหมายสั้นๆอย่างอื่นหลายนัย คือ ธรรมอันเที่ยงแท้, ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมของคนดี, ธรรมที่ดีเลิศ ธรรมเหล่านี้ เป็นคำสอนที่เที่ยงแท้ ที่ถูกต้อง และถือเป็นแก่นพุทธศาสนา 3 ประการ

สัทธรรม เป็นพระพุทธพจน์หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงได้ทรงเทศนา และได้บัญญัติไว้ในพระธรรม และพระวินัย เพื่อให้เป็นแนวทาง และหลักปฏิบัติของภิกษุ ภิกษุณี และคฤหัสถ์ทั้งหลาย อันเพื่อให้สาวกทั้งหลายเข้าใจในหลักแก่นแท้ของพระธรรม อันนำไปสู่การปฏิบัติ และยังผลให้เกิดขึ้นด้วยความสุข และการพ้นทุกข์

พระสัทธรรม 3 ประการ
1. ปริยัตติสัทธรรม
ปริยัตติสัทธรรม คือ คำสั่งสอนจะต้องเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์ พระธรรม และพระวินัย รวมถึงเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ พุทธประวัติ ประวัติพุทธสาวกต่างๆ หลักวิปัสสนากรรมฐาน และสมถกรรมฐาน เป็นต้น

2. ปฏิปัตติสัทธรรม
ปฏิปัตติสัทธรรม คือ ปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ หรือที่เรียกว่า อัฏฐังคิกมรรค หรือ ไตรสิกขา อันประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา

3. ปฏิเวธสัทธรรม
ปฏิเวธสัทธรรม คือ ผลอันเกิดขึ้นด้วยการปฏิบัติ คือ การเข้าถึง หรือ การบรรลุ ประกอบด้วย มรรค ผล และนิพพาน

สาระสำคัญสัทธรรม 3 ประการ
1. ปริยัตติสัทธรรม คือ พอจำเริญรู้ธรรมคำคาถา หมายถึง การได้ศึกษาเล่าเรียน ทั้งในหลักทฤษฎีหรือหลักการต่างๆในพระธรรมคำสอนจนเข้าใจเพื่อเป็นพื้นฐานต่อไปแห่งการปฏิบัติ อันเป็นพระปริยัติสัทธรรม

2. ปฏิปัตติสัทธรรม คือ ถือที่ข้ออรหัตวิปัสสนา หมายถึง การลงมือปฏิบัติ โดยการนำพื้นฐานที่ได้จากการศึกษาเล่าเรียนนั้น มาใช้กับการปฏิบัติจริงตามแนวทางหลักสำคัญที่เรียกว่า หัวใจพุทธศาสนา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา

3. ปฏิเวธสัทธรรม คือ ประโยชน์แห่งโพธิญาณเป็นการเนิ่น หมายถึง ผลแห่งการปฏิบัติอันเป็นเป้าหมายปลายทางแห่งการปฏิบัติที่ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง หรือ การบรรลุ อันประกอบด้วยขั้นต่างๆ คือ มรรค ผล และนิพพาน ซึ่งขึ้นอยู่กับสติปัญญาของผู้นั้นที่จะรู้แจ้งในขั้นใด ทั้งนี้ ผลที่เกิดขึ้นอาจเกิดผลปรากฏในระยะสั้น เช่น ภพนี้บรรลุได้เพียงมรรค หรือผลระยะยาว เช่น เมื่อบรรลุมรรคสะสมในหลายภพชาติจนสามารถบรรลุผล และนิพพานในภพนี้ เป็นต้น

สรุปได้ว่า การปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดผลที่เป็นการเข้าถึงหรือบรรลุฌานในขั้นต่างๆ เริ่มแรกจำเป็นต้องศึกษาเล่าเรียนจนมีความรู้เป็นพื้นฐานเสียก่อน ทั้งจากตำราคำสอนในพระธรรม และพระวินัย รวมถึงเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จากนั้น นำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้จริงในการปฏิบัติ พร้อมมับฝึกฝน และปรับปรุง ซึ่งซึ่งที่ตามมาก็คือ ผล อันเป็นการเข้าถึง การบรรลุ หรือ เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในมรรค ผล และนิพพาน