เลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ความหมาย ประเภท และหลักการใช้

Last Updated on 23 พฤศจิกายน 2022 by siamroommate

เลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ หมายถึง การเขียนตัวเลข ทั้งตัวเลขจำนวนเต็ม และจำนวนไม่เต็ม ให้อยู่ในรูปแบบเลขยกกำลัง หรือ เรียกอีกอย่างว่า เลขยกกำลังฐานสิบ

การเขียนสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ จะใช้เลขจำนวนเต็มคูณกับเลขยกกำลัง โดยเลขยกกำลังจะใช้เลขฐานสิบ และใช้เลขยกกำลังเป็นเลขจำนวนเต็ม หรือเขียนในสมการอย่างง่ายเป็น

A x 10n

โดยที่
A หมายถึง ตัวเลขที่น้อยกว่า 1 แต่ไม่มากกว่า 10 (1≤A<10)
10 หมายถึง ค่าคงที่เลขฐานสิบ
n หมายถึง จำนวนเต็มลบ และเต็มบวกทุกตัวเลข

ประเภทเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
1. เลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์เชิงลบ
เลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์เชิงลบ หมายถึง ตัวเลขที่เป็นตัวเลขทศนิยมที่มีเลข 0 อยู่ด้านหน้าเป็นต้นไป เช่น 0.1 เขียนเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์เชิงลบเป็น 1 x 10-1 หรือ 0.001 เขียนเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์เชิงลบเป็น 1 x 10-3 เป็นต้น

2. เลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์เชิงบวก
เลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์เชิงบวก หมายถึง ตัวเลขจำนวนเต็มที่ถูกเขียนไว้ด้านหน้า และหลังจุดทศนิยมทุกจำนวน เช่น 100 เขียนเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์เชิงลบเป็น 1 x 102, 120.00 หรือ 120 (ไม่มีทศนิยม) เขียนเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์เชิงลบเป็น 1.2 x 10-2 เป็นต้น

ประโยชน์เลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
1. ใช้เพื่อบ่งบอกให้ทราบว่าต้องนับเลขนัยสำคัญตามจำนวนเลขยกกำลังที่เป็นบวกเท่านั้น เช่น 1.1 x 103 เขียนมาจาก 1100 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเลข 1100 ให้นับเลขนัยสำคัญเป็นจำนวน 4 ตัว
2. ใช้สำหรับเขียนเป็นสัญลักษณ์ย่อสำหรับตัวเลขจำนวนมาก เพื่อให้กระชับ และเข้าใจในความหมายของตัวเลขได้ง่าย เช่น ตัวเลข 0.001 เขียนเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์เป็น 1 x 103

หลักการใช้เลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
1. เลขจำนวนเต็ม เช่น 1200 และเลขทศนิยม เช่น 0.125 สามารถเขียนเป็นเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ได้ทุกกรณี
2. เลขตัวคูณ ทั้งสามารถเขียนเป็นตัวเลขจำนวนเต็ม และเลขทศนิยมได้ทุกกรณี เช่น 1 x 105 เลขตัวคูณ คือ 1 หรือ 0.4 x 105 เลขตัวคูณ คือ 0.4
3. เลขยกกำลังสามารถเขียนได้ทั้งจำนวนเต็มบวก และจำนวนเต็มลบ เช่น 1.4 x 105 หรือ 1.4 x 10-5
4. การกำหนดเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์จะใช้จุดทศนิยมมาลดทอนหรือเพิ่มจำนวนตัวเลข แล้วค่อยนำจำนวนตัวเลขก่อนหรือหลังจุดทศนิยมมาเป็นเลขยกกำลัง ดังข้อ 7 และ 8
5. ตัวเลขยกกำลังของเลขจำนวนเต็มจะมีค่าเป็นบวกเสมอ
6. ตัวเลขยกกำลังของเลขทศนิยมจะมีค่าเป็นลบเสมอ
7. ตัวเลขยกกำลังของเลขจำนวนเต็มจะมีจำนวนเท่ากับจำนวนตัวเลขหลังจุดทศนิยม เช่น 140 หากใช้จุดทศนิยมไว้ในตำแหน่งหลังเลข 1 คือ 1.40 ก็จะนับจำนวนตัวเลขได้ 2 ตัว และเมื่อเขียนเป็นเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ก็จะได้ 1.4 x 102
8. ตัวเลขยกกำลังของเลขทศนิยมจะมีจำนวนเท่ากับจำนวนตัวเลขหลังจุดทศนิยมไปถึงจุดทศนิยมของตำแหน่งใหม่ เช่น 0.00125 หากกำหนดจุดทศนิยมตำแหน่งใหม่เป็น 1.25 ก็จะนับเลขยกกำลังได้ 3 ตัว คือหลังจุดทศนิยมในตัวเลข 001 และเมื่อเขียนเป็นเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ก็จะได้ 1.25 x 10-2

ตัวอย่างการเขียนเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
ตัวอย่างที่ 1
ตัวเลข 0.0001 เขียนเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์เป็น 1 x 10-4

ตัวอย่างที่ 2
ตัวเลข 0.1 เขียนเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์เป็น 1 x 10-1

ตัวอย่างที่ 3
ตัวเลข 1020 เขียนเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์เป็น 1.02 x 103

ตัวอย่างที่ 4
ตัวเลข 1200 เขียนเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์เป็น 1.2 x 103