การเสิร์ฟลูกสั้นแบดมินตัน/การเสิร์ฟลูกสั้นแบดมินตันแบบเล่นคู่

Last Updated on 25 พฤศจิกายน 2022 by siamroommate

การเสิร์ฟลูกสั้นแบดมินตัน หรือ การเสิร์ฟลูกสั้นแบดมินตันแบบเล่นคู่ ต้องอาศัยความมั่นใจเป็นอย่างมาก ผู้ส่งต้องแน่ใจว่าสามารถจะส่งลูกให้ข้ามพ้นตาข่ายไปในลักษณะการตีจากที่ตํ่าขึ้นสูงได้ ฉะนั้นการส่งลูกในการเล่นแบดมินตัน จึงไม่ใช่การโจมตีแต่เป็นการเล่นที่พยายามทำ ให้เสียเปรียบน้อยที่สุด

การเสิร์ฟลูกสั้น หรือ การส่งลูกสั้น มักใช้ในการแข่งขันแบดมินตันแบบคู่ ที่เป็นสิ่งสำคัญในการเล่นระยะแรก เพราะการส่งลูกที่ดีจะทำให้คู่ต่อสู้ไม่สามารถทำแต้มได้ และมีโอกาสหลอกให้คู่ต่อสู้ตีลูกโด่งมาได้ ทำให้ฝ่ายที่ทำการส่งลูกมีโอกาสตบทำลายลูกโต้ของคู่ต่อสู้ได้

ตามปกติแล้ว การส่งลูกไม่ต้องใช้ความเร็วในการเคลื่อนไหว แต่ต้องใช้สายตาที่ว่องไว หรือใช้แรงเหวี่ยงของแขน และข้อมือที่รวดเร็วมาก ทั้งนี้ ทุกคนก็สามารถจะทำได้ ถ้าได้ฝึกหัดมาแล้ว องค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับการส่งลูกที่ดี คือ ความใจเย็น ช่างสังเกต และการใช้สติปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งลูกสั้นต้องอาศัยความมั่นใจเป็นอย่างมาก ผู้ส่งต้องแน่ใจว่าสามารถจะส่งลูกให้ข้ามพ้นตาข่ายไปในลักษณะการตีจากที่ตํ่าขึ้นสูงได้ ฉะนั้นการส่งลูกในการเล่นแบดมินตัน จึงไม่ใช่การโจมตีแต่เป็นการเล่นที่พยายามทำ ให้เสียเปรียบน้อยที่สุด

วิธีการเสิร์ฟลูกสั้น
1. การยืน
ยืนแยกเท้าห่างกันประมาณ 12-15 นิ้ว โดยเท้าซ้ายล้ำไปข้างหน้าเล็กน้อยเท้าขวาอยู่หลัง เท้าทั้งสองจะทำมุม 45 องศา กับเส้นกลางคอร์ด หันไหล่ซ้ายไปยังทิศทางที่ต้องการจะส่งลูกไป เข่างอเล็กน้อย ตีลูกไปด้วยการสวิงลำตัวด้านขวาเล็กน้อย

สิ่งที่ควรคำนึง คือ เรื่องของการตัดสินใจว่า ควรจะใช้เท้าใดนำหน้า เพื่อที่จะได้เคลื่อนที่เข้าไปรับลูกได้ทัน บางคนชอบยืนโดยใช้เท้าขวานำหน้า เพราะคาดว่าฝ่ายตรงข้ามจะรับลูกกลับมาทางด้านซ้ายของตนเอง และรู้สึกว่าทำให้เขาเคลื่อนที่ไปทางซ้ายได้เร็วขึ้น แต่อันที่จริงแล้วควรจะเตือนตนเองอยู่เสมอว่า ลักษณะการวางเท้าของเรานั้น มีโอกาสที่จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามคาดคะเนได้ว่าเขาควรจะตีลูกอะไรไปทางใดจึงจะได้เปรียบ เพราะเคยกล่าวมาแล้วว่า ผู้เล่นที่ฉลาดจะต้องคอยสังเกตดูฝ่ายตรงข้ามว่า มีลักษณะการวาง และการเคลื่อนไหวเท้าอย่างไร ฉะนั้น ถ้าวางเท้า ผิดตำแหน่งก็จะทำให้ถูกโจมตีได้ง่าย เพราะฝ่ายตรงข้ามเห็นข้อบกพร่องหรือจุดอ่อน

2. การถือลูก
ถือลูกไว้ในมือซ้ายห่างจากตัวประมาณ 1 ช่วงแขน และตํ่ากว่าไหล่เล็กน้อย ควรจับที่ปลายขนของลูก โดยใช้นิ้วชี้ และนิ้วหัวแม่มือ ถ้าใช้ทุกนิ้วจับลูก เหงื่อที่มืออาจทำให้ลูกชื้น และเหนียว เพราะเส้นด้ายที่ผูกขนนั้น ทากาวไว้ ทำให้ติดมือ และลูกที่ปล่อยอาจเสียวิถีได้ ลูกที่จับในลักษณะนี้ ถ้าปล่อยให้ตกลงมาลูกจะตกตรงด้านขวาของเท้าซ้าย

3. การตีลูก
ถือแร็กเกตแบบหน้ามือจะสวิงแขนหรือไม่ก็ได้ ถ้าไม่สวิงแขนจะใช้การงอข้อศอกไปข้างหลัง และใช้ข้อมือสะบัดส่งลูกไป โดยหักข้อมือไปข้างหลังก่อน แต่ในการส่งทั้งสองแบบจะต้องถ่ายนํ้าหนักตัวจากเท้าหลังไปเท้าหน้าเสมอ ขณะปล่อยลูกตกลงให้สวิงแร็กเกตขึ้นมาตีเบาๆ แขนชิดข้างลำตัว หันด้านข้างด้วยการบิดสะโพกเล็กน้อย หัวแม่เท้าขวาแตะพื้นจุดกระทบลูกจะอยู่ระหว่างเข่ากับเอว และอยู่หน้าเท้าซ้าย

หลังจากตีลูกแล้ว ควรมีการตามแรง เพื่อความแม่นยำในการวางลูกไปในทิศทางที่ส่งลูกไป และจะหยุดเมื่อแร็กเกตเกือบขนานกับพื้น เหตุที่ใช้ข้อมือช่วยในการส่งก็เพื่อให้ลูกไปเร็วขึ้น ควรจำ ไว้ว่าลูกที่ปล่อยลงมานั้นตกช้า จึงไม่ต้องรีบร้อนตีลูก

ส่วนการถ่ายน้ำหนักตัวจากเท้า หลังไปเท้าหน้านั้น ทำให้การส่งมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คือ ไม่ติดตาข่าย
ได้ง่าย แม่นยำ และไม่ต้องเพิ่มแรงในการสวิงแขน แต่ต้องตีด้วยความมั่นใจ การส่งลูกให้เฉียดตาข่ายมาก ๆ ทำให้ลูกตกลงพื้นเร็ว โอกาสที่ฝ่าย ตรงข้ามจะโจมตีด้วยลูก เหนือตาข่ายก็ทำได้ยาก และส่วนมากจะรับด้วยการช้อนลูกที่ตกลงมาตํ่ากว่าขอบตาข่าย

การส่งลูกทำได้หลายวิธี เช่น การส่งลูกสั้นด้วยหลังมือ การส่งลูกโด่งด้วยหน้ามือ

การส่งลูกสั้นด้วยหลังมือ จับด้ามแบบหลังมือให้อยู่หน้าลำตัว ข้อศอกยกสูง และหักข้อมือไปข้างหลัง เท้าขวาอยู่หน้าเท้าซ้าย และให้อยู่ชิดกับเส้นส่งลูกสั้น มือซ้ายที่ถือลูกนั้นเหยียดตึงตํ่ากว่าเอว ถือให้หน้าแร็กเกตอยู่ใต้ลูกในระดับหน้าท้อง ใช้ข้อมือผลักส่งลูกไปข้างหน้าเบาๆ

การถือลูกสำหรับการส่งแบบหลังมือ ทำได้ 2 อย่าง คือ ถือลูกไว้ด้านหน้าลำตัว ดังที่กล่าวมาแล้ว กับถือลูกไว้ทางด้านซ้ายของลำตัวหน้าแร็กเกต จะทำมุม 45 องศา กับลูก

การส่งลูกแบบหลังมือยากกว่าการส่งลูกสั้นธรรมดาแต่มีประโยชน์คือ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามแปลกใจ ในขณะจับลูกในมือซ้ายนั้น ลูกสีขาวจะอยู่ตรงหน้าลำตัว ซึ่งเป็นชุดสีขาวทำให้ฝ่ายตรงข้ามมองไม่ทันหรือสังเกตลูกได้ลำบาก ลูกอยู่ห่างจากตัวมากกว่าการส่งแบบอื่น ทำให้ใช้เวลาในการส่งให้ข้ามตาข่ายไปสั้นกว่า
สามารถใช้แรงตวัดข้อมือได้เต็มที่

การส่งลูกโด่งด้วยหน้ามือ ใช้มากในการเล่นประเภทเดี่ยว ในประเภทคู่ใช้น้อยมาก ซึ่งไม่มีเส้นลูกส่งยาว เส้นหลังจึงเป็นที่หมายของการส่ง โดยใช้ลูกตกห่างจากเส้นหลังเข้ามา ไม่มากกว่า 2 ฟุต 6 นิ้ว ที่ดีควรเป็น 1 ฟุต เพราะในระยะเช่นนี้ ฝ่ายตรงข้ามจะตบมาลำ บาก เนื่องจากไกลเกินไปเว้น แต่ว่าฝ่ายตรงข้ามจะมีความสามารถสูงเท่านั้น ฉะนั้น การส่งลูกในการเล่นประเภทเดี่ยว จึงเป็นการส่งลูกโด่ง ประมาณ 85-90% เพราะมีความปลอดภัยจากการโจมตี และยังเป็นการบังคับให้ฝ่ายตรงข้ามไปเล่นลูกในแดนหลังอีกด้วย

ในการเล่นประเภทคู่ผสม ลูกโด่งจะใช้ได้ดีต่อเมื่อผู้รับเป็นผู้หญิง เพราะไม่สามารถจะตบกลับมาได้ นอกจากจะรับด้วยลูกโด่งหรือลูกหยอด ในการเล่นประเภทชายคู่ ก็สามารถจะใช้ได้ แต่นั่นหมายความว่า ผู้ส่งและคู่มีความสามารถในการป้องกันสูงมาก หรืออาจใช้ในกรณีที่ฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถจะตบได้รุนแรง หรือใช้เมื่อต้องการเปลี่ยนจังหวะของการเล่นให้ช้าลง

ในการเล่นประเภทหญิงคู่ สามารถจะใช้การส่งลูกโด่งได้โดยปลอดภัยกว่า เพราะผู้หญิงนั้นไม่สามารถจะตบหรือตีลูกโด่งได้รุนแรง และในกรณีอื่นๆ ก็อาจใช้ลูกโด่งได้ โดยพิจารณาดูตำแหน่งการยืนของฝ่ายตรงข้ามประกอบกันด้วย

กติกาการเสิร์ฟลูกสั้น
กติกาการส่งลูก ผู้เล่นควรได้ศึกษา และทำความเข้าใจในกติกาที่เกี่ยวข้องกับการส่งลูกให้ถ่องแท้เสียก่อน จึงจะส่งลูกได้ดี และถูกต้อง การส่งลูกจะเสียหรือผิดกติกาถ้าผู้ส่ง
1. เหยียบเส้นใดเส้นหนึ่ง
2. เท้าใดเท้าหนึ่งยกขึ้น หรือไม่ติดกับพื้นในขณะตีลูก
3. หลอกล่อหรือเจตนาถ่วงเวลา
4. ตีในขณะที่ลูกอยู่สูงกว่าเอว หรือในขณะที่แร็กเกตกระทบลูกนั้น ส่วนใดส่วนหนึ่งของลูกอยู่สูงกว่าเอว
5. ไม่ส่งให้ลูกตกอยู่เขตดี (สั้นหรือยาวเกินไป)
6. ไม่ส่งคอร์ดทแยงมุม
7. ในขณะแร็กเกตกระทบลูก ส่วนหัวของแร็กเกตทั้งหมดไม่ได้อยู่ตํ่ากว่ามือ (ตั้งแต่ข้อมือลงมา) อย่างเห็นได้ชัดเจน
8. ถ่วงเวลา หรือหาวิธีเอาเปรียบ