โครงสร้างผิวหนัง องค์ประกอบ และหน้าที่

Last Updated on 4 กรกฎาคม 2023 by siamroommate

ผิวหนัง ทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย ช่วยรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่ และขับของเสียออกจากร่างกาย เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุด ห่อหุ้มอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีเนื้อที่ประมาณ 2 ตารางเมตร และมีลักษณะความหนาบางแตกต่างกันไป ส่วนที่บางที่สุดจะมีความหนาประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ได้แก่ บริเวณเปลือกตาและใบหู ส่วนที่มีความหนา คือ ประมาณ 1.5 มิลลิเมตรได้แก่ บริเวณฝ่าเท้า สาหรับผิวหนังโดยทั่วๆ ไปมักจะมีความหนาประมาณ 1-2 มิลลิเมตร

โครงสร้างของผิวหนัง
ผิวหนังแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ ส่วนที่อยู่บนสุดสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอก ชั้นนี้เรียกว่าหนังกำพร้า (epidermis) ส่วนที่อยู่ถัดลงไป หรือส่วนล่างเรียกว่า หนังแท้ (dermis) และชั้นในสุด ของผิวหนัง คือส่วนของชั้นไขมันหรือเนื้อเยื่อไขมัน (subcutaneous fat)
1. หนังกำพร้า (Epidermis)
หนังกำพร้า เป็นชั้นบนสุดของผิวหนัง มีความหนาประมาณ 0.04-1.5 มิลลิเมตร ไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยงหนังกำพร้ามีความหนาแตกต่างกันไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย จะประกอบด้วยเซลล์ต่างๆ มากมาย เช่น เคอราติโนไซต์ (Keratinocyte) ซึ่งจะสร้างเคอราติน (Keratin) เซลล์ที่อยู่ส่วนล่างสุด (Basal Cell) จะทำหน้าที่สร้างเซลล์ใหม่ โดยจะมีการแบ่งตัวตลอดเวลา เซลล์ใหม่ที่สร้างขึ้นจะอยู่ส่วนล่างของชั้นหนังกำพร้าแล้วค่อยๆ ดันเซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่อยู่เหนือขึ้นไปให้เคลื่อนไปยังส่วนบนจนถึงชั้นบนสุดของชั้นหนังกำพร้าจะกลายเป็นเซลล์เก่าที่ตายแล้วเกิดเป็นเคอราติน (Keratin) และเส้นใยโปรตีน พร้อมจะหลุดลอกออกมาเป็น “ขี้ไคล” ซึ่งเป็นวงจรชีวิตของผิวหนัง เซลล์ในชั้นหนังกาพร้าเกิดการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นวงจร ในคนปกติผิวหนังจะลอกหลุดใน 28 วันในชั้นนี้ ยังมีเซลล์สร้างเม็ดสี (melanocyte) ทำหน้าที่สร้างเม็ดสี (melanin) อยู่ที่บริเวณชั้นล่างสุดของหนังกำพร้าทำให้เกิดสีผิวต่างๆ เช่น ผิวขาว ผิวเหลือง หรือผิวคล้ำการที่คนเรา มีสีผิวแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้ เชื้อชาติ ฮอร์โมน การได้รับยา สารเคมี แสงแดดความร้อน เป็นต้น

ชั้นหนังกำพร้ามีเซลล์ 4 ชนิด
1. เซลล์ผิวหนัง (Keratinocyte) พบส่วนใหญ่ 90%
2. เซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocytes) พบได้ 8 %
3. เซลล์ช่วยป้องกันเชื้อโรค (Langerhans cells)
4. เซลล์ที่ส่งความรู้สึกไปยังเซลล์ประสาท (Merkel cells)

เมื่อเซลล์ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลง และเคลื่อนตัวออกมาชั้นบนเรื่อย ๆ ทำให้สามารถแบ่งชั้นหนังกำพร้าออกเป็นชั้นต่างๆ โดยแต่ละชั้นก็จะมี keratinocytes ที่อยู่ในระยะต่างๆ ของการเปลี่ยนแปลงชั้นหนังกำพร้าแบ่งออกเป็น 4 หรือ 5 ชั้น

2. ชั้นหนังแท้ (Dermis)
เป็นชั้นส่วนใหญ่ของผิวหนังประกอบด้วยเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้แก่
2.1 เส้นใยคอลลาเจน (Collagen fiber) คือโปรตีน คอลลาเจน เป็นส่วนประกอบที่มีมาก (ประมาณร้อยละ 97.5 โดยน้ำหนัก) ทำให้ผิวหนังเกิดความแน่นและแข็งแรง คอลลาเจนในเนื้อเยื่อต่างๆ จะมีการสลายและสร้างขึ้นใหม่ ทดแทนตลอดเวลา ชั้นหนังแท้ที่หนาที่สุดจะอยู่หลังต้นขา และหน้าท้อง
2.2 เส้นใยอีลาสติค (Elastic fiber) คือ โปรตีน อีลาสติน (elastin) มีอยู่ประมาณ ร้อยละ 4 ของน้ำหนักแห้งของผิวหนัง มีหน้าที่ทำให้เกิดความยืดหยุ่น และสามารถคืนสู่สภาพเดิมได้เมื่อถูกยืด หรือ ดึงยังมีบางส่วนทำหน้าที่เป็นทางผ่านของน้ำและอาหาร ของเสียระหว่างเซลล์ และหลอดเลือด
2.3 เส้นประสาท สำหรับเส้นประสาทที่ผิวหนังมีระบบประสาทอัตโนมัติ ควบคุมการทำงานของต่อมเหงื่อ กล้ามเนื้อเรียบที่ผนังหลอดเลือด และกล้ามเนื้อขนาดเล็กที่อยู่บริเวณรากขนหรือผม และเส้นประสาทรับความรู้สึกต่างๆ ปลายประสาทจะอยู่ส่วนบนของชั้นหนังแท้ และทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดรู้สึกมีอาการคัน การถูกแรงกด การสั่นสะเทือน และทำให้รับรู้อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงได้
2.4 หลอดเลือด หลอดเลือดที่มาเลี้ยงผิวหนังจะเป็นแขนงเล็กๆ ที่ทะลุผ่านชั้นเนื้อเยื่อไขมันขึ้นมา ทำหน้าที่ นำอาหารมาเลี้ยงเซลล์ผิวหนัง และยังช่วยปรับอุณหภูมิให้กับร่างกายรวมถึงควบคุมความดันโลหิตอีกด้วย
2.5 ระบบน้ำเหลือง ระบบน้ำเหลือง ทำหน้าที่ควบคุมความดันของน้ำที่อยู่ระหว่างเซลล์และถ่ายเทของเสียออกไปจากผิวหนัง
2.6 ต่อมเหงื่อ และต่อมไขมัน

3. ชั้นไขมัน (Subcutaneous Fat)
ชั้นไขมัน หรือ เนื้อเยื่อไขมัน (Subcutaneous Fat) ในชั้นนี้จะทำหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันแรงกระทบกระแทกจากภายนอก ช่วยเก็บสะสมพลังงานไว้ใช้ในเวลาที่จำเป็นหรือขาดแคลน และทำให้ผิวหนังสามารถเคลื่อนไหวได้โดยไม่ติดกับอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ข้างใต้นี้ ซึ่งชั้นนี้จะประกอบไปด้วยเซลล์ไขมัน (fat cell) จำนวนมากที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และมีเส้นประสาท