สารธรรมชาติ 13 ชนิด ที่ทำให้ผิวขาว

Last Updated on 5 กรกฎาคม 2023 by siamroommate

1. มะหาด
สารสกัดจากแก่นมะหาด พบว่า มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ในห้องทดลองได้ รวมถึงสามารถออกฤทธิ์ลดความเข้มของสีผิว ด้วยคุณสมบัติลดการสร้างเมลานิน (melanin) สารสำคัญที่สกัดได้ในแก่นมะหาด คือ oxyresveratrol ทั้งนี้ สารสกัดสารในแก่นมะหาดที่ได้ผลดี และช่วยให้สารออกฤทธิ์ได้ดี ควรใช้ในรูปแบบ oil-in-water emulsion ดังนั้น สารสกัดแก่นมะหาดจึงมีศักยภาพในการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาวได้ดี

2. มะขามป้อม
สารสกัดจากมะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.) มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ collagenase และฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) โดยพบว่า ความร้อนจากการสกัดและชนิดของตัวทำละลายมีผลต่อการออกฤทธิ์ดังกล่าวข้างต้นความร้อนจะทำให้ฤทธิ์ต่างๆ ลดลงตัวทำละลายเอธานอล และอะซีโตนจะให้สารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ collagenase สูงกว่าตัวทำละลายเอธิลอะซีเตด ในขณะที่ตัวทำละลายเอธิลอะซีเตดจะให้สารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทซิเนส (tyrosinase) สูงกว่าตัวทำละลายเอธานอลและอะซีโตน นอกจากนี้ ยังพบว่าสารสกัดมะขามป้อมมีความคงตัวดีในการต้านออกซิเดชัน (oxidation) ช่วยป้องกันผิวหนังจากการทำลายของสารอนุมูลอิสระป้องกันผิวหนังจากการทำลายของเอนไซม์ collagenase และ tyrosinase

ดังนั้น มะขามป้อม จึงมีประโยชน์ในเชิงนำมาพัฒนาในผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผิวขาวได้อย่างปลอดภัย ในมะขามป้อมจะอุดมด้วยวิตามินซี gallic acid และ emblicanin ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดการถูกทำลายของผิวจากแสงแดด และอนุมูลอิสระช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ จึงนับได้ว่าเป็นสารต้านออกซิเดชันที่ดี นอกจากนี้ มะขามป้อมยังมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวด้วย จึงได้มีการนำมะขามป้อมมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์รักษาสิวเพื่อช่วยให้สิวหายเร็วขึ้นเพราะสารสกัดมะขามป้อมมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน (oxidation) ได้ดีจึงมีการนำสารสกัดมะขามป้อมมาเตรียมเป็นไลโปโซม (liposome) โดยวิธี modified ethanol injection

3. ปอสา
สารสกัดคลอโรฟอร์มจากกิ่งของปอสา (paper mulberry) มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase เมื่อใช้ L-tyrosine เป็นสารตั้งต้นในการทดสอบ โดยพบว่า สารสำคัญในสารสกัดดังกล่าว ได้แก่ 3,5,7,4’-tetrahydroxy-3’-(2-hydroxy-3-methylbut-3-enyl) flavone, uralenol, quercetin และ broussoflavonolF มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ได้ดีกว่า arbutin ซึ่งเป็นสารมาตรฐานที่รู้จักกันทั่วไปว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase)

4. รังไหม
สารสกัดด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ของรังไหม 3 ชนิด สารสกัดใบหม่อนมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน(oxidation) และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) อย่างไรก็ตามฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) ของสารสกัดทุกชนิดมีฤทธิ์ต่ำกว่า kojic acid ที่ใช้เป็นสารมาตรฐานทำให้ผิวขาวอยู่มาก
ทั้งนี้ สารสำคัญในสารสกัดจากรังไหม คือ flavonoids ในขณะที่สารสำคัญในสารสกัดจากใบหม่อน (Morus alba) คือ flavonoids และ triterpenoids

5. เถาสิรินธรวัลลี
สารสกัดหยาบเอธานอลจากเถาสิรินธรวัลลี มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) ได้ค่อนข้างดี ในปฏิกิริยาเปลี่ยน L-DOPA ไปเป็น dopachrome ในกระบวนการชีวสังเคราะห์เมลานินคาดว่าสามารถพัฒนาสารสกัดจากเถาสิรินธรวัลลีสำหรับใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผิวขาวได้

6. ชะเอมเทศ
สารสกัดจากชะเอมเทศ (licorice extract) เป็นสารสกัดของรากชะเอมเทศมีสรรพคุณทางยา เช่น แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง รักษาแผลในกระเพาะอาหาร สงบประสาท ต้านการอักเสบ และใช้แต่งรสหวานในตำรับยาแผนโบราณ เป็นต้น สาระสำคัญในรากชะเอมเทศ ได้แก่ triterpenes, saponins และ flavonoids ต่อมาได้มีการค้นพบว่า สารสกัดชะเอมเทศในหลอดทดลอง และสัตว์ทดลองมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase จึงอาจช่วยให้มนุษย์มีผิวขาวขึ้นได้

6. กรดผลไม้
กรดผลไม้ (alpha hydroxyl acid หรือ AHA) ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ได้แก่ glycolic acid ซึ่งพบมากในอ้อย, lactic acid พบมากในนมเปรี้ยว, malic acid พบมากในแอปเปิ้ล, citric acid พบมากในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว และ tartaric acid พบในองุ่น

7. สารในกลุ่ม glycolic acid
สารในกลุ่ม glycolic acid มีโครงสร้าง และขนาดโมเลกุลเล็กจึงซึมผ่านผิวหนังได้ดีโดยเฉพาะ lactic acid จะมีประสิทธิภาพในการซึมผ่านผิวหนังได้ดีที่สุด โดยกรดผลไม้จะออกฤทธิ์เป็น chelating agent ที่สามารถจับแคลเซียมไอออนออกจากเซลล์ผิวหนังได้ ซึ่งการยึดติดกันของเซลล์บุผิว (epithelium cell) จะต้องอาศัย cadherin และการทำงานของ cadherin จะขึ้นอยู่กับแคลเซียมไอออน ดังนั้น เมื่อระดับแคลเซียมไอออนลดลงจึงเร่งการหลุดลอกของเซลล์ที่ผิวชั้นนอกทำให้มองเห็นผิวที่สร้างขึ้นใหม่จึงแลดูผิวขาว และอ่อนเยาว์มากขึ้น

8. วิตามินซี
วิตามินซี (ascorbic acid) และอนุพันธุ์ของวิตามินซี เป็นสารทำให้ผิวขาวที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมีผลยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase และมีฤทธิ์ฟอกสีผิว (bleaching effect) จึงทำให้เมลานินลดลงผิวจึงแลดูขาวขึ้นนอกจากนี้วิตามินซียังเป็นสารต้านออกซิเดชันที่ดีอีกด้วยอย่างไรก็ตาม เนื่องจากวิตามินซีถูกออกซิไดส์ได้ง่าย จึงส่งผลให้ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานินลดลงด้วย ฉะนั้น จึงได้มีการพัฒนาอนุพันธุ์ของวิตามินซีให้มีความคงตัวสูงขึ้น แต่ยังมีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ tyrosine ได้ดีดังเดิม นอกจากนี้ ยังสามารถแพร่ผ่านผิวหนังได้ดีขึ้นอีกด้วย อนุพันธุ์ของวิตามินซี ได้แก่ magnesium Lascorbyl phosphate (MAP), magnesium ascorbate PCA (MAPCA), ascorbyl oleate, vitamin C glycoside และ disodium ascorbyl sulfate เป็นต้น

9. สารจากเชื้อรา Kojic acid
Kojic acid เป็นสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ได้จากเชื้อรา Aspergillus มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และเป็น iron chelator ซึ่งธาตุเหล็กในผิวหนังเป็นสาเหตุของการเกิดอนุมูลอิสระ (free radical) ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของผิวหนังเมื่อโดนแสง และทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นดำคล้ำ Rumex extract เป็นสารสกัดจากพืช 4 ชนิด ได้แก่ Rumex occidentalis, Rumex maritimus, Rumex pseudonatronatus และ Rumex stenophyllus สารสกัดชนิดนี้ มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) ได้ใกล้เคียงกับ kojicacid และ มีฤทธิ์ดีกว่า ไฮโดรคิวโนน (hydroquinone) และอาร์บูติน (arbutin) ในทุกความเข้มข้น

10. สารจากเปลือกสน
สารสกัดจากเปลือกสน (pine bark extract) มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน จึงสามารถลดการสร้างเมลานินที่ผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุของ มีรายงานว่า การรับประทานสารสกัดเปลือกสนอย่างต่อเนื่องจะทำให้รอยฝ้าและกระจางลง และเลือนหายไปในที่สุด สารสำคัญในสารสกัดเปลือกสน ได้แก่ วิตามินซี และฟลาโวนอยด์ที่ช่วยทำให้ผนังหลอดเลือดฝอยแข็งแรง รอยฝ้า และกระจางลง ผิวหนังขาวใส และยืดหยุ่นอย่างเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ มีรายงานว่า pycnogenol ที่แยกได้จากเปลือกสน มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และสามารถยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ในกระบวนการสังเคราะห์เมลานินได้ดี นอกจากนี้ ยังพบว่า สารสกัดเปลือกสนยังสามารถกระตุ้นระบบภูมิต้านทานในร่างกายให้ดีขึ้นด้วย

11. สารจากเมล็ดลำไย
จากรายงานการศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชันในสารสกัดลำไย พบว่าสารสกัดเมล็ดลำไยจะมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันสูงกว่าสารสกัดเนื้อลำไย โดยมีรายงานว่าเมล็ดลำไยประกอบด้วยสารประกอบโพลีฟิโนลิกที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันในปริมาณสูงสารเหล่านี้ ได้แก่ corilagin, gallic acid และ ellagic acid ซึ่งสารเหล่านี้จะมีปริมาณสูงมากในสารสกัดเมธานอลจากเมล็ดลำไย ในขณะที่สารสกัดเมธานอลจากเปลือกลำไยมีปริมาณสารเหล่านี้ในลำดับรองลงมา และในสารสกัดเมธานอลจากเนื้อลำไยมีสารเหล่านี้ในปริมาณต่ำที่สุด จึงคาดว่าสารสกัดเมล็ดลำไยจะสามารถพัฒนาไปเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ใช้บำรุงร่างกาย และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น สารสกัดจากเมล็ดลำไยที่ประกอบด้วย gallic acid และ ellagic acid ในปริมาณสูง มี free radical scavenging activity แรงกว่าสารสกัดจากเมล็ดลำไยสด และสารสกัดจากเนื้อของผลลำไยแห้ง

นอกจากนี้ สารสกัดจากเมล็ดลำไยยังมี scavenging activity สูงกว่าสารสกัดจากเนื้อของผลลำไยแห้ง และสารสกัดจาก mulberry green tea สารสกัดจากเมล็ดลำไยแห่งออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารสกัดจากเนื้อของผลลำไยแห้ง คาดว่าสารสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันซึ่งอยู่ในสารสกัดด้วยน้ำนั้น ไม่ใช่สาร corilagin, gallic acid และellagic acid แต่คาดว่าเป็นสาร phenolic /flavonoid glycosidesและ ellagitannins ซึ่งอยู่ในผลลำไย นอกจากนี้ สารสกัดเมล็ดลำไยยังแสดง tyrosinase inhibitoryactivity ที่ IC50 = 2.9-3.2 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร จากผลการวิจัยดังกล่าวสรุปได้ว่า สารสกัดจากเมล็ดลำไยมีศักยภาพเป็นสารต้านออกซิเดชันจากธรรมชาติที่สามารถพัฒนาไปเป็นสารทำให้ผิวขาวได้

12. สารจากเมล็ดองุ่น
สารสกัดเมล็ดองุ่นประกอบด้วย Oilgmeric proantocyannidins (OPC) ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชันจึงช่วยลด และชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง ช่วยสร้างคอลลาเจนทำให้ผิวแข็งแรง และสุขภาพดีช่วยให้ฝ้า และกระจางลงผิวพรรณขาวขึ้นตามธรรมชาติ

13. สารจากเมล็ดลิ้นจี่
สารสกัดเมล็ดลิ้นจี่ (Litchi sinensis Sonn.) มีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชันและยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) สารสกัดเอธานอลที่มีเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์ ในน้ำมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันดีที่สุดและมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) ได้ดีกว่าสารสกัดที่เตรียมจากตัวทำละลาย
เอธานอล เมธานอล และน้ำ สาระสำคัญในกลุ่ม phenolic compounds ที่พบในสารสกัดเอธานอลที่มีเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์ในน้ำ ได้แก่ gallic acid, procyanidin B2, (-)-gallocatechin, (-)-
epicatechin และ (-)-epicatechin-3-gallate สรุปได้ว่า สารสกัดเมล็ดลิ้นจี่มีศักยภาพในการพัฒนาไปเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาว